หน้าแรก » ข่าวสาร » ทำความรู้จักกับโครงการ “ 211” ,“985” และ C9 League

ทำความรู้จักกับโครงการ “ 211” ,“985” และ C9 League

แชร์หน้านี้ Line

เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเมื่อเราหาข้อมูลมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนต่อจีน มักจะเจอเลข “985 / 211” นอกจากนี้เรายังเห็นคำว่า “C9 League ” อยู่ในข้อมูลมหาวิทยาลัยชั้นนำบ่อยๆ เลขและคำเหล่านี้คืออะไรนะ ? วันนี้พี่ CASC จึงอยากมาแปลบทความวิชาการที่ชื่อว่า “China’s Elite Tertiary Education” ของ ศาสตราจารย์ Guo Congbin จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ให้น้องๆได้รับสาระความรู้และคลายข้อสงสัย แถมทำให้เราเลือกมหาวิทยาลัยดังที่เหมาะสมกับเราเพื่อเสริมโปรไฟล์ได้อีกด้วยค่ะ

 

มีเนื้อหาจากบทความ

“ นักเรียนหลายคนได้ตั้งความหวังด้านการศึกษาจากกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ แม้ว่าจะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถเข้าเรียนได้เพราะลักษณะการแข่งขันสูง มหาวิทยาลัยเหล่านี้ในประเทศจีน เปรียบได้กับ Ivy League (มหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา) คือมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับในโครงการ “ 211” ,“985” และ“Double First-Class”

 

โครงการ “ 211” ,“985”

ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 จีนได้วางยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อ “ฟื้นฟูประเทศโดยวิทยาศาสตร์และการศึกษา” ทั้งนี้โครงการ 211 เปิดตัวในปีค.ศ. 1995 โดยตั้งเป้าหมายที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาประมาณ 100 แห่ง และมีเงินทุนสำหรับการจัดตั้งโครงการ 211 จากรัฐบาลจีน การก่อตั้งของโครงการ 211 ได้ผลที่ดีมาก รัฐบาลกลางจึงได้กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้น เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา เกิดเป็นโครงการ 985 โครงการนี้ได้รับชื่อมาจากการเปิดตัวในปีค.ศ.1998 เดือนพฤษภาคม (เดือน5)

ในโครงการมีมหาวิทยาลัยจำนวนทั้งหมด 39 มหาวิทยาลัย ในระยะแรกมีมหาวิทยาลัย Peking University, Tsinghua University, Fudan University, Shanghai Jiaotong University ถูกเลือกเป็นชุดแรก ตามมาด้วยมหาวิทยาลัย Wuhan University, Xiamen University, Sun Yat-sen University, Nankai University และอื่น ๆ เป็นชุดที่สอง จากนั้นในระยะที่สอง มหาวิทยาลัย China Agricultural University, Central University for Nationalities และ East China Normal University ได้เข้าสู่โครงการ 985 ตามมา โดยทั่วไป ยิ่งมหาวิทยาลัยเข้าร่วมโครงการ 985 ได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินมากขึ้นเท่านั้น

โครงการ 211& 985 นี้ ให้ผลลัพธ์ดีมากๆ ภายในสองทศวรรษ (20ปี) เนื่องจากส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยของจีนอย่างรวดเร็วในฐานะสถาบันและสาขาวิชาเฉพาะต่างๆ เป็นผลให้จีนกลายเป็นประเทศชั้นนำอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกาในแง่ของสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก รวมถึงใน Science Citation Index (SCI), Engineering Index(EI) และดัชนีอ้างอิงการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ (CPCI–S) หลังปีค.ศ. 1995 จำนวนคณาจารย์และนักศึกษาที่ประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็ประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้มีความสามารถมากขึ้น

 

C9 League

ประธาน 9 คนจากโครงการ 985 ได้จัดสัมมนาการสร้างมหาวิทยาลัยระดับเฟิร์สคลาสครั้งแรกในปีค.ศ. 2003 ซึ่งในระหว่างนั้นได้มีการก่อตั้ง C9 League ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัย Peking University, Tsinghua University, Fudan University, Shanghai Jiaotong University, Nanjing University, Zhejiang University, University of Science and Technology of China,Harbin Institute of Technology, และ Xi’an Jiaotong University มหาวิทยาลัยเหล่านี้ถือเป็นการแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำของระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจีน กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการคลังได้ทุ่มเทเงินทุนจำนวนมากให้กับมหาวิทยาลัย C9 League เพื่อส่งเสริมการวิจัยและการแลกเปลี่ยนเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ปี 2009 มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้ลงนามในข้อตกลงเรื่อง “ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำ” เพื่อแบ่งปันทรัพยากรทางวิชาการและปลูกฝังนักเรียนชั้นนำ

ผลลัพธ์ที่ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในแง่ของการจัดอันดับโลก มหาวิทยาลัยอยู่ใน 200 อันดับแรกของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS จากปี 2012 ถึง 2019 เป็นลีก C9 ทั้งหมด”

 

จากที่อ่านบทความกันมา น้องๆจะสังเกตได้เลยว่าโครงการเหล่านี้ เป็นที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศให้ก้าวไปสู่ระดับโลก และปัจจุบันก็ประสบความสำเร็จระดับโลกอย่างล้นหลาม ใครที่อ่านจบแล้วสนใจมหาวิทยาลัยในโครงการเหล่านี้ พี่ๆมีข้อมูลมหาวิทยาลัยแบบแน่นๆเพื่อผลักดันความฝันให้เป็นจริง หากน้องๆคนใดสนใจทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อจีน หรือต้องการข้อมูลหรือปรึกษาด้านการเรียนต่อเพิ่มเติม สามารถติดต่อพี่ CASC ได้เลยนะคะ

 

ช่องทางการติดต่อ

โทรศัพท์ : 02-113-1119

Line Official : @casc

Facebook : เรียนต่อจีน และไต้หวันกับ CASC

Tiktok : casc_th

Instagram : casc_abroad

Twitter : casc_abroad

website : www.casc.in.th , www.123tochina.com

 

แปลวารสารวิชาการจาก https://www.internationalhighereducation.net/api-v1/article/!/action/getPdfOfArticle/articleID/3039/productID/29/filename/article-id-3039.pdf

 

Guo Congbin. (2020). China’s Elite Tertiary Education. International Higher Education. 104 (2020), 30-31.